วันพุธที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2556

กระโถนฤาษี



กระโถนฤาษี ( Sapria himalayana ) พืชหายากในประเทศไทย

กระโถนฤาษี เป็น พืชหายาก ตระกูลกาฝาก หรือ พืชเบียน (Parasitic plant) ที่พบได้ในป่าดิบชื้นซึ่งปราศจากการบุกรุก ทางภาคเหนือ ภาคตะวันตก และภาคใต้ของประเทศไทยตามแนวเทือกเขาถนนธงชัยและเทือกเขาตะนาวศรี ตั้งแต่จังหวัดเชียงใหม่ ตาก ระนอง สุราษฎร์ธานี

ส่วนดอก กระโถนฤาษี มีลักษณะคล้ายปากแตร หรือ ถ้วยขนาดใหญ่
กลีบดอก กระโถนฤาษี มี 10 กลีบ สีแดงสด มีจุดประสีขาว หรือ สีเหลือง
เมื่อดอก กระโถนฤาษี บานเต็มที่ จะมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 10-15 เซนติเมตร
โคนกลีบเชื่อมกันเป็นท่อกึ่งกลางดอกเป็นช่องเปิดลงสู่แอ่งซึ่งเป็นที่ตั้งของเส้าเกสร (Column)
กระโถนฤาษี เป็นพืชอาศัยโดยแทงรากเพื่อดูดกินน้ำและอาหารจากรากเถาวัลย์ของต้นเครือเขาน้ำ หุ่นเป และ เถาส้มกุ้ง
จนถึงวัยเจริญพันธุ์ กระโถนฤาษี จึงส่งตาดอกผุดขึ้นเหนือพื้นดิน โดยใช้กลิ่นเหม็นล่อแมลงมาให้ช่วยผสมพันธุ์ เพราะมันเป็นพืชที่แยกเพศอยู่กันคนละดอก



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น