วันพุธที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2556

โทรเลขไทย

telegram.JPG


เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2551 ได้ไปส่งโทรเลข ที่ไปรษณีย์กลาง เพื่อระลึกถึงและเก็บไว้เป็นที่ระลึก ก็จะยกเลิกการให้บริการตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2551 แล้วครับ โทรเลขไทยถือว่าเป็น จุดเริ่มต้นของการสื่อสารแบบ ที่จะต้องใช้สาย และ การเคาะรหัส ส่วนตัวผมคิดว่าเป็นจุดเริ่มต้นของเทคโนโลยีในประเทศไทย

                โทรเลข คือ ระบบโทรคมนาคมซึ่งใช้อุปกรณ์ทางไฟฟ้าส่งข้อความจากที่หนึ่งไปอีกที่หนึ่ง เดิมส่งโดยอาศัยสายตัวนำที่โยงติดต่อถึงกัน และอาศัยอำนาจแม่เหล็กไฟฟ้าเป็นหลักสำคัญ แต่ระยะหลังมีการใช้วิธีการส่งไร้สาย ที่เรียกว่า วิทยุโทรเลข (radio telegraph , wrieless telegraph หรือ continuous wave ย่อว่า CW)
ความเป็นมาของโทรเลขในเมืองไทย
เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2412 รัฐบาลสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ได้อนุมัติให้ชาวอังกฤษ 2 นาย จัดตั้งบริษัทก่อสร้างและบำรุงรักษาทางโทรเลขภายในราชอาณาจักรตามคำเสนอขอแต่การดำเนินงานของบุคคลทั้งสองล้มเหลว
ดังนั้น ในปี พ.ศ. 2418 รัฐบาลไทยจึงได้ดำเนินการเอง โดยมอบหมายให้กรมกลาโหม สร้างทางสายโทรเลขสายแรก จากกรุงเทพฯ ไปปากน้ำ (จังหวัดสมุทรปราการ) และวางสายเคเบิลโทรเลขได้น้ำต่อออกไปถึงกระโจมไฟ นอกสันดอนปากแม่น้ำเจ้าพระยา รวมระยะทางยาว 45 กิโลเมตรเพื่อทางราชการใช้ส่งข่าวเกี่ยวกับการผ่านเข้าออกของเรือกลไฟ พ.ศ. 2421 กรมกลาโหมได้สร้างทางสายโทรเลขสายที่สอง จากกรุงเทพฯ ถึงพระราชวังบางปะอิน และภายหลังได้ขยายทางสายออกไปถึงกรุงเก่า (จังหวัดพระนครศรีอยุธยา) เพื่อใช้ประโยชน์ในทางราชการเช่นกัน
ในปี พ.ศ. 2426 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งกรมโทรเลขขึ้นรับช่วงงานโทรเลขจากกรมกลาโหมมาทำต่อไป ได้เริ่มสร้างทางสายใช้ลวดเหล็กอาบสังกะสีเป็นสายแรกจากกรุงเทพฯ ผ่านปราจีนบุรี กบินทร์บุรี อรัญประเทศ ศรีโสภณ ไปถึงคลองกำปงปลัก ในจังหวัดพระตะบอง (สมัยนั้นยังเป็นของไทย) และเชื่อมต่อกับสายโทรเลขอินโดจีนไปถึงเมืองไซ่ง่อน เป็นสายโทรเลขสายแรกที่ติดต่อกับต่างประเทศ ได้เปิดให้สาธารณะใช้เป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2426 ในปีเดียวกันนั้นก็ได้มีประกาศเป็นทางการให้สาธารณชนทั่วไปใช้โทรเลขสาย กรุงเทพฯ-สมุทรปราการ และกรุงเทพฯ-อยุธยา ได้ด้วย
พ.ศ. 2440 กรมโทรเลขได้สร้างทางสายกรุงเทพฯ ไปแม่สอด จังหวัดตาก ไปต่อกับทางสายโทรเลขของอังกฤษไปเมืองมะละแหม่ง และย่างกุ้ง
ทางภาคใต้ได้สร้างทางสายโทรเลขจากกรุงเทพฯ ผ่าน เพชรบุรี ชุมพร ทุ่งสง ไปหาดใหญ่ และสงขลา ต่อมาในปี พ.ศ. 2441 ได้สร้างทางสาย่อจากสงขลาออกไปถึงไทรบุรี (เดิมเป็นของเมืองไทย ปัจจุบันเป็นรัฐเคดาห์ ประเทศมาเลเซีย) และกัวลามุดา เชื่อมต่อกับสายโทรเลขของอังกฤษ ไปปีนังและสิงคโปร์
 
 
0099.JPG



หลักการทำงานของโทรเลข
เมื่อกดดันเคาะของเครื่องส่งเกิดวงจรปิด กระแสไฟฟ้าทำให้เกิดอำนาจแม่เหล็กรอบขดลวดในเครื่องรับ อำนาจแม่เหล็กและดูดแม่เหล็กมากระทบแกนเหล็ก ทำให้เกิดเสียงจังหวะเดียวกับที่กดดันเคาะ โดยเคาะให้เกิดเสียงเป็นรหัส จึงต้องมีการแปลสัญญาณโทรเลขเป็นสัญญาณข้อความ
ข้อดีของโทรเลข คือ
- สามารถส่งข่าวสารและข้อมูลไปได้ระยะทางไกลๆ
- ประหยัดค่าใช้จ่าย เพราะสามารถใช้บริการโทรเลขได้ในราคาถูก
ข้อเสียของโทรเลข คือ
- ต้องแปลรหัสโทรเลขทั้งขณะส่งและขณะรับ ทำให้เสียเวลา
- หากแปลรหัสผิดอาจทำให้ข่าวสารและข้อมูลนั้นๆ มีใจความเปลี่ยนไป

011.jpg 0072.jpg


การบริการสารนิเทศด้วยบริการโทรเลขในปัจจุบัน การสื่อสารแห่งประเทศไทย ได้พัฒนาการรับส่งโทรเลขด้วยการใช้เครื่องโทรพิมพ์สมัยใหม่ที่ควบคุมด้วยระบบไมโครคอมพิวเตอร์และสามารถติดต่อรับส่งได้ด้วยความเร็วสูงถึง 240 คำต่อนาที มาใช้อุปกรณ์รับส่งโทรเลข นอกจากนี้ยังมีการติดต่อชุมสายโทรเลขอัตโนมัติ ทำงานด้วยระบบคอมพิวเตอร์มากกว่า 20 ปีแล้ว ช่วงเวลารุ่งเรืองที่สุดของกิจการโทรเลขจะมีการส่ง-รับถึงวันละกว่า 40,000 ฉบับ
จอมพลสมเด็จพระราชปิตุลาบรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภานุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุ์วงศ์วรเดช อธิบดีกรมไปรษณีย์และกรมโทรเลขคนแรก

จะเห็นได้ว่า โทรเลขก็มีความสำคัญไม่น้อยไปกว่าเทคโนโลยีอื่นๆ แต่อาจเป็นเพราะโลกในยุคปัจจุบันก้าวหน้า จึงได้เกิดเทคโนโลยีใหม่ๆที่สะดวกรวดเร็วขึ้น จึงไม่นิยมและสนใจมากนัก อีกทั้งยังเสียเวลาในการจะไปส่งโทรเลขที่ไปรษณีย์ แต่โทรเลขก็มีข้อดี คือ ราคาในการส่งถูกกว่า ดังนั้นการใช้โทรเลขอาจจะขึ้นอยู่กับความนิยม และความถนัดของคนๆนั้นก็เป็นได้…
 
 
017.JPG
วิวัฒนาการของโทรเลข
แซมมอล มอร์ส นี่นะครับ เขาเป็นผู้ที่ทำให้การสื่อสารโทรเลขเกิดหรือว่าถือกำเนิดขึ้นมาได้นะครับ โดยได้คิดรหัสโทรเลขเป็นจุดและขีดเพื่อใช้ในการสื่อสารโทรเลขนะครับ จนถึงปี พ.ศ. 2387 ครับ แซมมวล มอร์ส ได้สร้างสายโทรเลขระหว่างเมืองบัลติมอร์กับวอชิงตันขึ้นเป็นครั้งแรกมีระยะทางยาวถึง 64 กิโลเมตร เชียวนะครับ ทำการส่งโทรเลขเป็นจุดและขีด ถือเป็นการเริ่มต้นการสื่อสารโทรเลขอย่างจริงจัง และขยายเครือข่ายเพิ่มขึ้นอย่างมากมายเลยที่เดียวเชียวนะครับ หลังจากนั้นการสื่อสารโทรเลขได้ถูกพัฒนาขึ้นมา ทั้งอุปกรณ์ในการสื่อสารโทรเลข ระบบที่ใช้งาน และเทคโนโลยีใหม่ๆ ของการสื่อสารโทรเลข เช่นโทรพิมพ์ และเทเล็กซ์ เป็นต้น
หลักการส่งและรับโทรเลข
ในการส่งโทรเลขนี้นะครับ ก็จะมีหลักการดังนี้ครับ ก็คือว่า ทางเครื่องส่งนี้จะต้องทำการแปลงรหัสนะครับ คือจากตัวเลขหรือตัวอักษร ที่เราเข้าใจแล้วทำการแปลงรหัสไปเป็นรหัสสัญญาณทางไฟฟ้า จากนั้นก็จะส่งไปตามสายสัญญาณพอไปถึงเครื่องรับแล้วนะครับ เครื่องรับก็จะทำการรับสัญญาณทางไฟฟ้านั้น มาทำการถอดรหัสทางไฟฟ้ามาเป็นตัวเลขหรือตัวอักษร ที่เราเข้าใจยังไงล่ะครับ

รหัสมอร์ส
รหัสมอร์ส เป็นรหัสที่ถูกสร้างขึ้นมาใช้ในระบบโทรเลขในสมัยเริ่มแรกโดยการใช้จุด และ ขีด ในการเข้ารหัสในการสื่อสารโดยจะนำจุดและขีด นำมารวมกันเป็นตัวอักษร หรือตัวเลขที่เราเข้าใจได้ ตัวอย่างรหัสมอร์สที่เราจะมานำเสนอมีดังนี้
A ._ B _… C _._. D _.. E . F .._. G _ _. H …. I .. J ._ _ _ K _._ L ._.. M _ _ N _. O _ _ _ P ._ _. Q _ _._ R ._. S … T _ U .._
V …_ W ._ _ X _.._ Y _._ _ Z _ _..
นี้ก็เป็นตัวอย่างของรหัสมอร์ส ที่ใช้ในการสื่อสารโทรเลข  ต่อไปนี้เราจะมาพูดถึงเรื่องของรหัสโทรเลขกันนะครับ เนื่องจากรหัสมอร์สที่ผ่านมานั้นมีความยาวของรหัสของแต่ละตัวอักษรไม่เท่ากันนะครับ จึงเป็นการยากในการพัฒนาเครื่องสำหรับรับ-ส่ง โทรเลข ดังนั้นจึงได้มีการพัฒนารหัสโทรเลขขึ้นมาซึ่ง ความยาวของรหัสของแต่ละตัวอักษรหรือตัวเลขนั้นมีความยาว เท่ากันเช่น รหัส 5 หน่วย รหัส 6 หน่วย และรหัส 7 หน่วย ซึ่งองค์ประกอบของรหัสนี้จะไม่เรียกว่า จุดหรือขีด แต่จะเรียกว่า มอร์ค และ ช่องว่า แทน ต่อไปนี้จะเป็นตัวอย่างของรหัสโทรเลขชนิด 5 หน่วย

ตัวอักษร รหัสที่1 รหัสที่2 รหัสที่3 รหัสที่4 รหัสที่5
A M M S S S
B M S S M M
C S M M M S
D M S S M S
E M S S S S

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น